วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประวัติพี่น้องปลัง

พี่น้องปลังในประเทศไทย
                   ระหว่าปีค.ศ. 1990-2000 เป็นช่วงเวลาที่ชาวปลังเข้ามาในประเทศไทยมาก คนที่อยู่นานที่สุดคือนายแก้ว แสงสุรีย์ อยู่ประมาณ 20 ปีมาแล้ว และหลังจากนั้นก็มีหลายรุ่นที่เข้ามาทำงาน ส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องที่มาจากหมู่บ้านเดียวกันคนที่มาก่อนก็แนะนำคนที่อยู่ที่บ้าน ในปี ค.ศ. 2008 จากการที่ได้ร่วมทำงานกับคริสตจักรสามแยกนครปฐม ทางคริสตจักรก็ได้ประสานกับมิชชันนารีเกาหลีเพื่อจะทำพันธกิจกับชนเผ่าปลังที่อยู่ในนราภิรมย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เริ่มแรกโดยการขอการสนับสนุนในด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อจัดเช่าสถานที่ และทางคณะมิชชันนารีเกาหลีได้ตอบรับข้อเสนอนี้และมีการติดต่อประสานงาน ในที่สุดก็ได้รับการตอบรับจากคริสตจักรเกาหลีที่จะสนับสนุนเรื่องการเช่าที่เพื่อทำพันธกิจและงบประมาณต่างๆ ที่จะใช้ในการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ แม้ว่าช่วงเวลานี้พี่น้องคริสตชนมีการรวมกลุ่มเพื่อจะทำพันธกิจต่างๆ แต่เนื่องจากยังมีปัญหาหลายอย่างจึงไม่สามารถรวมตัวกันได้ดังที่ได้ตั้งใจไว้ ปัญหาที่สำคัญคือการสื่อสาร เพราะเมื่อต้องมีที่โบสถ์ก็ต้องมากับรถโดยสารและหลายท่านยังไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ และปัญหาเรื่องการเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างที่ให้ทำงานในวันอาทิตย์ด้วย ชาวปลังส่วนใหญ่ที่อยู่ในประเทศไทยนั้นทำงานที่จังหวัดนครปฐม ทำงานในสวนกล้วยไม้และรับจ้างทั่วไปซึ่งเป็นงานที่คุ้นเคยกันดี เพราะมีพื้นฐานการทำไร่ ทำสวนอยู่ก่อนแล้ว

               คริสตจักรสามแยกเป็นคริสตจักรที่ได้ทำพันธกิจกับพี่น้องปลังก่อนที่จะเป็นศาลาธรรมปลังนครปฐมได้แลเห็นความสำคัญของพี่น้องปลังที่จะร่วมใจกันทำพันธกิจของพระเจ้าจึงได้มีการประชุม ประสานมิชชันนารีที่มีภาระใจที่ทำพันธกิจกับพี่น้องชนเผ่าต่างๆ ในประเทศไทย ปี ค.ศ. 2008 ได้ทำการเช่าสถานที่เพื่อจะทำพันธกิจร่วมกันที่นราภิรมย์ (145 หมู่ 3 ตำบล นราภิรมย์ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม) เมื่อมีการเช่าสถานที่ สมาชิกต่างได้ร่วมใจกันมานมัสการเพื่อจะทำพันธกิจ และในปีเดียวกันนี้คริสตจักรสามแยกซึ่งเป็นคริสตจักรที่ดูแลพี่น้องปลางได้มีโครงการสร้างตัวอาคารเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
               ศาลาธรรมปลังนครปฐม ศาลาธรรมหรือที่เรียกกันอีกชื่อว่าโบสถ์เป็นสถานที่พี่น้องมาทำกิจกรรมร่วมกันในวันอาทิตย์และวันพิเศษต่างๆ เป็นศูนย์รวมของพี่น้อง กิจกรรมต่างๆ ในวันอาทิตย์มีการนมัสการร่วมกัน ศึกษาพระคัมภีร์และร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า ศาลาธรรมปลังได้เริ่มต้นเช่าเพื่อจะทำพันธกิจอย่างจริงจัง โดยคริสตจักรสามแยก มิชชันนารีเกาหลีเป็นผู้ดูแลให้การสนับสนุน เนื่องจากศาลาธรรมเป็นศาลาธรรมที่เริ่มต้นจึงเป็นไปอย่างยากที่จะให้เป็นไปตามระบบต่างๆ เพื่อให้พันธกิจที่ทำจะง่ายขึ้นและเกิดผลอันดีในระยะยาว แต่อย่างไรก็ตามพันธกิจของพระเจ้าจะดำเนินต่อไปแม้จะเผชิญกับอุปสรรคปัญหาต่างๆ ก็ตาม
           พี่น้องปลังบางกลุ่มได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำงานเลี้ยงดูครอบครัว ในการเดินทางนั้นเป็นไปอย่างค่อนข้างลำบาก เพราะการเดินทางนั้นเดินด้วยเท้าทำให้ใช้เวลาหลายวันกว่าจะถือที่หมาย บางครั้งคนที่มีลูกหลายคนอาจจะเป็นอุปสรรคในการเดินทาง อุปสรรคอย่างหนึ่งในขณะเดินทางคือพี่น้องปลางไม่มีสัญชาติหรือใบอนุญาตที่จะเข้าประเทศจึงไปอาศัยร่วมกับพี่น้องชนเผ่าต่างๆ ซึ่งอยู่ในขณะนั้นเพื่อเป็นที่พักพิง เมื่อระยะเวลาผ่านไปช่วงเวลาหนึ่งจึงได้ติดต่อทางเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีการทำใบอนุญาตที่จะมาทำงานในประเทศ พี่น้องปลังส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่ก่อนได้แนะนำสถานที่ทำงานต่างๆ ให้กับผู้ที่มาทีหลังซึ่งส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องกัน และหลังจากนั้นก็มีการแนะนำต่อๆ กันหรืออาจจะกลับไปรับพี่น้องมาทำงานกับตน
                การตัดสินใจเข้ามาประเทศไทยในช่วงเวลาเหล่านี้เป็นการตัดสินในที่เสี่ยงต่อการที่รัฐจะส่งกลับประเทศของตนและข้อหาการลักลอกเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามหลายคนได้พูดกันและกันว่า “ถ้าไม่ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยลูกหลานก็คงจะตายหมดแล้ว” เพราะเป็นช่วงที่ประเทศกำลังวุ่นวายและการอยู่ห่างไกลจากความเจริญทำให้ต้องประสบกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งบางครั้งไม่อาจรักษาและต้องเสียชีวิตไปในที่สุด การสูญเสียที่มาจากโรคภัยไข้เจ็บนั้นเป็นการสูญเสียที่ยากที่จะทำใจได้ สภาพความเป็นอยู่ที่ห่างไกลจากความเจริญและไกลสถานที่รักษาทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมา จากเหตุผลดังกล่าวนี้มีประชาชนหลายครอบครัวได้พากันอพยพเข้ามาในประเทศไทยเพื่อความอยู่รอดและเพื่อมาหางานทำ สภาพความเป็นอยู่ของพี่น้องในประเทศที่จากมานั้นเป็นป่าเขา และเต็มไปด้วยพืชนานาชนิด หลังจากเข้ามาในประเทศก็ต้องหางานทำ งานที่พี่น้องส่วนใหญ่ทำนั้นเป็นงานเกี่ยวกับสวนกล้วยไม้ การรับจ้างตัดกิ่งไม้ต่างๆ เฝ้าสวน
               เนื่องจากพี่น้องปลังส่วนใหญ่ไม่รู้ภาษาไทยจึงถูกเอารัดเอาเปรียบจากหัวหน้างาน และบางครั้งมีการข่มขู่หรือให้ทำงานเกินเวลาแต่ไม่ได้จ่ายค่าแรงตามนั้น แต่พี่น้องเหล่านี้ก็ยังคงต้องทนอยู่ต่อเพราะไม่สามารถที่จะโต้เถียงกับหัวหน้างานได้ ในด้านการรักษาสุขภาพนั้นค่อนข้างจะไม่ถูกสุขอนามัยเพราะการทำสวนกล้วยไม้นั้นต้องพ่นยาอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย แต่เนื่องจากความจำกัดทางภาษา ความรู้และครอบครัวที่ต้องดูแลจึงไม่สามารถหางานในตัวเมืองทำได้ เผ่าปลังเป็นชนเผ่าเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นชนเผ่าที่ยังมีน้อยคนที่รู้จักเพราะส่วนใหญ่จะทำงานมากกว่าที่จะรวมตัวกันเพื่อจะตั้งเป็นชุมชน เมื่อต่างฝ่ายต่างอยู่เพื่อทำงานก็ไม่สามารถที่จะรวมตัวกันเป็นชุมชนได้นอกจากการร่วมสามัคคีธรรมเพื่อจะทำพิธีตามศาสนา ความเป็นอยู่ของปลางอาศัยอยู่อย่างสงบ ไม่เข้าสังคมและเน้นการงานอาชีพ วิถีชีวิตที่เรียบง่ายไม่ยึดติดกับโลกวัตถุ ส่งเสริมให้ลูกหลานทำงานเลี้ยงชีพ คำสอนที่สืบทอดกันมาในเรื่องการทำงานเพื่อเลี้ยงชีพนั้นยังส่งยังผลไปถึงลูกหลานซึ่งจะเห็นได้ชัดคือ ลูกหลานส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจการศึกษา แต่มีทัศนะว่าทำงานเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น ทัศนะนี้อาจเป็นปัญหาที่บรรดาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรีบแก้ไข เพราะการที่ชนเผ่าปลางจะพัฒนาและเติบโตได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำงานเพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น แต่การศึกษาจะเป็นตัวผลักดันให้มีการพัฒนา มีโลกทัศน์ที่กว้างไกลและมีความรอบรู้ในด้านต่างๆ เพื่อจะนำกลับมาพัฒนาชุมชนต่อไป
           พระคัมภีร์ได้พูดถึงการอบรมบุตรไว้อย่างชัดเจนว่า “จงฝึกเด็กในทางที่เขาควรจะเดินไป และเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่แล้วเขาจะไม่พรากจากทางนั้น” (สุภาษิต22:6) และยังได้สนับสนุนให้สนใจความรู้ การศึกษาเพื่อจะเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพราะหากขาดความรู้จะนำมาซึ่งความล้มเหลว เพราะโลกปัจจุบันเป็นโลกที่เน้นด้านเทคโนโลยี เป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา การศึกษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อความอยู่รอด ประเพณีวัฒนธรรมและภาษา ชนเผ่าปลังมีประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของปลังไว้อย่างเห็นได้ชัดเช่น ภาษา วัฒนธรรม พิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ แต่จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือภาษาที่ไม่เหมือนชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นๆ ซึ่งมีภาษาเขียน ภาษาพูดที่คล้ายคลึงกันกับบางชนเผ่า ผู้เขียนเข้าใจว่ามิชชันนารีที่ทำพันธกิจกับเผ่าปลังเป็นผู้ให้ภาษา เพราะในอดีตนั้นชนกลุ่มน้อยต่างๆ ยังไม่มีภาษาของตนนอกจากภาษาพูดเท่านั้น แต่เมื่อมิชชันนารีเข้ามาทำพันธกิจกับชนเผ่าต่างๆ มิชชันนารีก็พยายามสร้างภาษาให้กับพี่น้อง จะเห็นได้จากภาษาลาหู่ ภาษาอาข่าและอีกหลายๆ เผ่าที่มีพื้นฐานภาษาเขียนมาจากตะวันตกซึ่งมิชชันนารีเป็นผู้ทำขึ้น โดยส่วนใหญ่มิชชันนารีที่มาบุกเบิกพันธกิจต่างๆ กับชนเผ่านั้นเพื่อการประกาศและสอนศาสนา อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีการรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่านั้นๆ

           พี่น้องปลังในประเทศไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครปฐม มีอาชีพรับจ้างทั่วไป มีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างลำบาก เพราะต้องทำงานเลี้ยงชีพในแต่ละวัน ปัญหาการเมือง สภาพเศรษกิจที่กำลังตกต่ำย่อมมีผลที่ทำให้ความเป็นอยู่ของพี่น้องปลางยากลำบากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตในเมืองไทยถือว่าดีกว่าประเทศที่จากมากเหตุเพราะว่าการเมือง การปกครองของประเทศพม่าทำให้ต้องเผชิญกับความสิ้นหวัง เพราะมีการข่มเหง การถูกบีบบังคับผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง [เพราะการปกครองของประเทศพม่าไม่ได้ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตย ทำให้มีชนกลุ่มต่างๆ ตั้งตัวปกครองกันเอง และเมื่อสภาพการปกครองที่อ่อนแอทำให้ประเทศต้องพบกับปัญหาการขัดแย้งกัน การไม่เข้าใจกัน และผลกระทบต่อประชาชนคือ ประชาชนต้องตกอยู่ภายใต้ความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้น] พี่น้องปลางส่วนใหญ่จะอาศัยร่วมกับชนเผ่ากลุ่มอื่นเช่น ลาหู่ ไทยใหญ่ ละว้า (จากการสัมภาษณ์นายแก้ว บุญทอง อายุ40 วันที่20/06/10 เวลา11.06)

ห้องทำกิจกรรมของเด็กรวีฯ
ศาลาธรรมปลังนครปฐม
              ศาลาธรรมหรือที่เรียกกันอีกชื่อว่าโบสถ์เป็นสถานที่พี่น้องมาทำกิจกรรมร่วมกันในวันอาทิตย์และวันพิเศษต่างๆ เป็นศูนย์รวมของพี่น้อง กิจกรรมต่างๆ ในวันอาทิตย์มีการนมัสการร่วมกัน ศึกษาพระคัมภีร์และร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า ศาลาธรรมปลางได้เริ่มต้นเช่าพื้นที่เพื่อจะทำพันธกิจอย่างจริงจังในปี ค.ศ.2008 โดยคริสตจักรสามแยก มิชชันนารีเกาหลีเป็นผู้ดูแลและให้การสนับสนุน เนื่องจากศาลาธรรมเป็นศาลาธรรมที่เริ่มต้นทำพันธกิจจึงเป็นไปอย่างยากที่จะให้เป็นไปตามระบบต่างๆ เพื่อให้พันธกิจที่ทำจะง่ายขึ้นและเกิดผลอันดีในระยะยาว แต่อย่างไรก็ตามพันธกิจของพระเจ้าจะดำเนินต่อไปแม้จะเผชิญกับอุปสรรคปัญหาต่างๆ ก็ตาม



พันธกิจและกิจกรรมต่างๆ
วันพุธ 19.00-20.30 กลุ่มอธิษฐาน
วันพฤหัสบดี 18.00-20.00 เยี่ยมเยียน
วันเสาร์ 10.00-12.00 เพลง ดนตรี (กีต้าร์/คีย์บอร์ค) ศึกษาพระคัมภีร์
วันอาทิตย์ 08.30-09.00 กลุ่มอธิษฐานผู้นำ
09.00-10.00 ศึกษาพระคัมภีร์ผู้ใหญ่
10.00-12.00 รวีศึกษาเด็ก/อนุชน
12.00-13.00 อาหารเที่ยง
13.00-14.30 เรียนเพลงสั้น เพลงไทยนมัสการ รวีผู้ใหญ่
14.30-16.00 นมัสการ
16.00-17.00 ภาษาปลัง ภาษาไทย
17.00-18.30 สามัคคีธรรม
ชั้นเรียนอนุชนคริสตจักรปลังนครปฐม

ถวายเพลงพิเศษถวายพระเจ้า


              ปี ค.ศ.2010 เป็นปีแห่งการเติบโตศาลาธรรมปลัง เพราะทางคริสตจักรสามแยกได้เห็นความสำคัญของการมีผู้รับใช้เต็มเวลา พันธกิจต่างๆ ได้เกิดขึ้นเพื่อเสริมสร้างกันและกันโดยมีผู้รับใช้และคณะกรรมการร่วมกันทำงาน วันที่ 01 เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 คุณกานต์ อาแล นักศึกษาจากกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์ (สถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน คริสตจักรภาคที่ 7 แห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย) เป็นผู้รับใช้เต็มเวลา ในปีนี้เป็นปีแห่งการเจริญเติบโตของสมาชิก จากการมีผู้รับใช้เต็มเวลาทำให้สมาชิกหลายคนได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมรับใช้และหลายคนได้สละเวลาเพื่อพันธกิจของพระเจ้า ไม่ว่าจากการถวาย การมานมัสการที่เพิ่มขึ้น แม้สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่ตัววัดที่แท้จริงของการเจริญเติบโตของสมาชิกแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเหล่านี้ อุปสรรคปัญหาที่สำคัญคือ พี่น้องส่วนใหญ่ไม่รู้ภาษาประจำเผ่าของตนเอง อีกทั้งไม่มีพระคัมภีร์ภาษาปลางและเกือบเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ไม่สามารถอ่านภาษาไทย สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่ทำให้ศาลาธรรมปลางเจริญเติบโต

    การประชุมอธิษฐานก่อนที่จะมีศาลาธรรมปลังนครปฐม
              ปี 2008 ในปีนี้ทางคริสตจักรสามแยกนครปฐมได้มีการประสานไปยังมิชชันนารีเกาหลีเพื่อจะสร้างตัวอาคาร คริสตจักรสามแยกและคณะกรรมกรรมการศาลาธรรมปลังนครปฐมได้ทำการเช่าพื้นที่ประมาณสามไร่เศษเพื่อจะเป็นสถานที่ใช้ทำกิจกรรม พื้นที่นี้เริ่มแรกเป็นร้านอาหารแต่ต่อมาก็ได้ยกเลิกไป เมื่อทางคณะธรรมกิจและคณะกรรมการพี่น้องปลางได้เห็นชอบที่จะเช่าพื้นที่นี้จึงมีการทำสัญญาเช่า 5 ปี (ศาลาธรรมปลังนครปฐม 145 หมู่ 3 ต.นราภิรมย์ อ.บางเลน จ.นครปฐม 73130) การเริ่มต้นปรับปรุงเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ทำสัญญาเช่าห้าปีโดยได้รับการสนับสนุนจากมิชชันนารีเกาหลีที่ทำงานในภาคที่ 11 และในที่สุดวันที่ 10 เดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 อาคารดังกล่าวก็เสร็จสิ้นได้ทำการเปิดอาคารอย่างเป็นทางการเพื่อใช้ในการประกอบศาสนพิธีทางคริสตศาสนา และได้ตั้งชื่อตามชนเผ่าปลังคือ “ศาลาธรรมปลังนครปฐม” แต่อย่างไรก็ตามยังคงประสบกับปัญหาคือ แม้ว่าจะมีอาคารที่เตรียมไวพร้อมใช้งานแต่ยังไม่สามารถหาอาจารย์ที่จะอยู่เป็นประจำ คริสตจักรสามแยกนครปฐมก็มาประจำในอาทิตย์ที่สี่ของเดือนและสามอาทิตย์ก่อนหน้านี้ยังไม่มีใครที่จะนำชนเผ่าปลัง และหลังจากนั้นก็มีนักศึกษาฝึกงานที่อยู่ประจำอยู่ที่บ้านคาได้มาช่วยที่นี่ พันธกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงเป็นรูปเป็นร่างและมีความชัดเจนยิ่งขึ้น นายสมเกียรติ บุญกระจายเป็นนักศึกษาพระคริสตธรรมพระเยา และในช่วงปิดเทอมก็ได้มีโอกาสมาช่วยงานศาลาธรรมเป็นบางครั้ง
               ปีค.ศ. 2008-2009 ในช่วงปีเหล่านี้ยังไม่มีผู้รับใช้เต็มเวลา ทำให้ประสบปัญหาหลายๆ อย่างตามมาอย่างไรก็ตามแม้จะยังไม่มีผู้รับใช้เต็มเวลาที่จะอยู่ศาลาธรรมก็มีสมาชิกจากคริสตจักรสามแยกนครปฐมมาเดือนละครั้งเพื่อจะประกอบพิธีศีลมหาสนิทที่ชาวคริสต์ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างสัปดาห์ชาวปลังที่เชื่อศรัทธาในคริสต์ศาสนาก็ยังคงรวมตัวกันเพื่อจะอธิษฐานตามสวน หรือบางครั้งก็ได้ใช้ที่ศาลาธรรม หลังจากมีศาลาธรรมก็มีปัญหาตามมาคือ ไม่มีคนเฝ้าโบสถ์ และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วคณะกรรมการก็ได้ ในปี 2012 ได้สถาปนาจากศาลาธรรมเป็นคริสตจักรปลังนครปฐม ซึ่งในปัจจุบันมีผู้รับใช้พระเจ้าเต็มเวลา คือครูศาสนายุทธนาชัย ตันเครือ เป็นศิษยาภิบาล และครูศาสนาอมรศักดิ์ อุดมพรนิรันดร์ เป็นผู้ช่วย ศิษยาภิบาล มีสมาชิก 350 คน ในพันธกิจด้านการช่วยเหลือพี่น้องปลังคือ 1 ด้านสถานะบุคคล คือการให้ความรู้การยื่นขอสัญชาติ 2 การช่วยเหลือด้านการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 การเข้าถึงสุขภาพขั้นพื้นฐาน และ 4 การให้ความรู้กฎหมายแรงงานข้ามชาติ