ประวัติกลุ่มชาติพันธุ์ปลัง


ประวัติความเป็นมาของชนเผ่าปลัง

                 ชนเผ่าปลังหรือปลั่ง (Plang ) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยเก่าแก่ชนเผ่าหนึ่งในมลฑลยูนานของจีน มีกำเนิดย้อนไปถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อประมาณ  206-220 ปี ก่อนคริสตกาล ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในท้องที่ตามเทือกเขาแห่งเขตปกครองอิสระเม็งไห่ในแคว้นสิบสองปันนา 


      โดยเฉพาะเขตภูเขาปูลังชานซึ่งมีชื่อสอดคล้องกับนามของชนเผ่าปลัง สถิติในปี ค.ศ.2000 มีชาวปลางในประเทศจีน 91,822 คน สันนิษฐานว่า ชาวปลังบางส่วนได้เคลื่อนย้ายเข้าไปยังพม่าและมีศูนย์กลางชุมชน ปลังในเขตรัฐฉานของพม่าทางชายแดนจีนมีการตั้งหมู่บ้านกว่า40หมู่บ้านอยู่ท่ามกลางชนเผ่าอื่นๆจากการสำรวจของ Joshua Project 

                 เมื่อไม่นานมานี้ ได้ให้ข้อมูลว่ามีชาวปลัง อยู่ทางรัฐฉานตอนใต้ของพม่าจำนวน 13,000 คน ขณะที่มีชาวปลังในทุกประเทศจำนวนรวม 111,000 คน ส่วนในประเทศไทยไม่มีการสำรวจสถิติที่แน่นอน จากการสัมภาษณ์ชาวปลังได้ให้ข้อมูลว่า ทางราชการและนักวิชาการบางสำนักมักนับพวกเขาเป็นชาว ปะหล่องที่อยู่ทางอำเภอแม่จันและแม่สาย จังหวัดเชียงราย


                เนื่องจากถิ่นฐานของชาวปลังในประเทศพม่าอยู่ในพื้นที่ป่าเขาที่มีการสู้รบระหว่างรัฐไทยใหญ่และชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลกลางของพม่า ทำให้ชาวปลังต้องประสบกับความเดือดร้อนจากปัญหาสงคราม การถูกกดขี่ข่มเหงต่างๆนานา ประกอบกับความยากลำบากในการทำมาหาเลี้ยงชีพและการดำรงชีวิตประจำวันเนื่องจากสงครามและสภาพแวดล้อมอื่นๆ ทำให้มีชาวปลางหนีภัยไปอยู่ในแหล่งที่คิดว่ามีความปลอดภัย โดยในปี ค.ศ.1977 เกิดความขัดแย้ง มีการสู้รบระหว่างกองทหารของรัฐบาลพม่ากับของชนกลุ่มน้อยที่มีความรุนแรงมากขึ้น ชาวปลังงต้องถูกบังคับให้รับผิดชอบในการเลี้ยงดูสนับสนุนกองทหารของรัฐบาลพม่า หรือกองทหารของชนกลุ่มน้อยที่เข้ามามีอิทธิพลในหมู่บ้านของชาวปลัง ทำให้ชาวปลัง ต้องโยกย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ระหว่างชายแดน    ไทย-พม่า เฉพาะอย่างยิ่งในเขตจังหวัดเชียงราย ซึ่งการเดินทางเล็ดลอดเข้ามายังประเทศไทยนั้นถึงแม้จะต้องฟันฝ่า    กับภัยอันตรายรอบด้าน แต่ส่วนใหญ่คิดว่า ไปตายเอาดาบหน้าดีกว่าต้องทุกข์ทนกับสภาพการณ์อันเลวร้ายอย่างไม่มีอนาคต การสุ่มเสี่ยงนี้นับว่าคุ้มค่าดังที่มีชาวปลังหลายคนกล่าวว่า ถ้าไม่ได้เข้ามาอยู่ในเมืองไทยลูกหลานก็คงจะตายกันหมดแล้วช่วงระหว่าง ค.ศ.1990-2000 นับว่ามีชาวปลังอพยพเข้ามายังประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งจากคำบอกเล่ากล่าวว่า นายแก้ว แสงสุรีย์ (สมาชิกอาวุโสของศาลาธรรมคริสเตียนปลัง นครปฐม) เป็นชาวปลังที่เข้ามายังประเทศไทยคนแรกๆ จากนั้นก็มีญาติพี่น้องและคนในหมู่บ้านอพยพตามเข้ามา ในสมัยนั้นยังไม่ค่อยมีการเข้มงวดกวดขันเกี่ยวกับการเข้าออกชายแดนนักหรือบางครั้งต้องจ่ายเงินสินบนเป็นเบี้ยใบ้รายทางให้กับเจ้าหน้าที่จึงสามารถผ่านด่านชายแดนและเส้นทางหลบหนีได้
  

ระบบครอบครัวของชนเผ่าปลัง
ชนเผ่าปลังมีระบบครอบครัวแบบขยายคือมีปู่ย่าตายายพ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกัน บางครัวเรือนจะอยู่รวมกัน 2-3 ครอบครัว แต่เนื่องจากสภาพของการขาดแคลนที่ทำดินกินและต้องแผ้วถางที่ทำไร่แบบเลื่อนลอย ทำให้มีการจัดตั้งหมูบ้านแบบกระจัดกระจาย ลักษณะครอบครัวที่ชัดเจนประการหนึ่งคือ ชนเผ่าปลังให้การนับถือบิดามารดาอย่างสูง ดังมีคำสอนที่ตกทอดต่อมาว่าหนุ่มสาวต้องออกไปทำไร่ทำนา ตอนกลับบ้านต้องเก็บผักมาด้วย และเวลากินข้าวต้องตักข้าวให้พ่อแม่ก่อนเพราะถือว่าพ่อแม่คือพระเจ้า
ระบบอาชีพของชนเผ่าปลัง
ปลังประกอบอาชีพปลูกพืชเลื่อนลอยแบบย้ายถิ่นและล่าสัตว์ โดยเฉพาะการเพาะปลูกชาวบ้านจะบุกเบิกที่ดินทำไร่ในที่แห่งหนึ่ง ปีแรกจะปลูกฝ้าย ปีที่สองปลูกปลูกข้าว หลังจากนั้นจะทิ้งไว้ประมาณสองปี และต้องหาไร่เพาะปลูกใหม่แล้วจึงกลับมาที่เดิม พืชไร่ที่สำคัญคือข้าว ถั่ว มันสำปะหลัง พริกและงา เครื่องมือทำไร่ได้แก่มีดและจอบที่ซื้อจากประเทศจีน ผลผลิตที่ได้บางส่วนนำไปขายที่ประเทศจีนและซื้อสิ่งของเครื่องใช้จากประเทศจีนกลับมาฝากพี่น้องในครอบครัว ได้แก่เกลือ ไม้ขีดไฟ ผ้า และขนมต่างๆ

วิถีชีวิตและสังคม
ชนเผ่าปลังมีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย การสร้างบ้านส่วนใหญ่ทำด้วยไม้ไผ่ มุงหญ้าคา ทุกเช้าชาวบ้านจะตื่นประมาณตีสี่ตีห้าเพื่อตำข้าวเนื่องจากบ้านหนึ่งๆอยู่กันหลายครอบครัว จึงมีเสียงตำข้าวตอนเช้าทุกวัน พวกเขาต้องตื่นมาตักน้ำเตรียมอาหารพร้อมสำหรับการออกไปทำไร่ เมื่อตะวันขึ้นชาวบ้านจะทยอยออกไปทำภารกิจต่างๆ ของตนเองยามเย็นก่อนตะวันลับฟ้าบ้างก็กลับจากที่ทำงานและบางคนค้างคืนในไร่บางครอบครัวพาสมาชิกของรอบครัวไปทั้งหมด ขณะที่บางครอบครัวทิ้งลูกๆให้ผู้สูงอายุในครอบครัวที่ไม่สามารถทำงานหนักได้เป็นผู้ดูแลอย่างไรก็ตามในสภาวะสงครามระหว่างรัฐบาลกลางของพม่ากับกองกำลังของชนกลุ่มน้อยที่ต่อสู้เพื่อการเป็นอิสระปกครองตนเอง ทำให้ชาวปลัง   


ต้องประสบความยากลำบากในการดำเนินชีวิต เนื่องจากต้องตกเป็นเหยื่อของสงครามในรูปแบบต่างๆ บางครั้งต้องหนีไปซุกซ่อนตัวจากกองทหารของแต่ละฝ่าย บางทีบ้านเรือนถูกเผาทำลาย ต้องกลับมาเริ่มต้นช่วยกันสร้างใหม่ และเมื่อชาวปลังหลบหนีเข้ามาในประเทศไทย จะมุ่งเน้นการทำงานเพื่อความอยู่รอดทำให้ไม่ค่อยมีการรวมตัวกันเป็นชุมชน กระทั่งมีการทำกิจกรรมของคริสตจักรสามแยก จังหวัดนครปฐม ที่ชักชวนให้คริสเตียนชาว
ปลังรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนขึ้น และพัฒนาเป็นศาลาธรรมปลังนครปฐม ต่อมา จึงเกิดชุมชนชาวปลังที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น

ระบบความเชื่อในเผ่า 

ระบบความเชื่อของชนเผ่าปลังมีผู้นับถือศาสนาพุทธเป็นหลักประมาณ  95 เปอร์เซ็นต์ และมีผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวน 2 เปอร์เซ็นต์ แต่ขณะเดียวกัน ความเชื่อเรื่องผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมยังคงมีอิทธิพลสืบทอดต่อมาอยู่ไม่น้อย เช่นการนับถือผีบรรพบุรุษ ผีป่าผีเขา  ผีบ้านผีเรือน เป็นต้น ภาพโดยทั่วไปจะเห็นได้ว่า หมู่บ้านต่างๆของชนเผ่าปลังนับถือพุทธศาสนา ทุกหมู่บ้านจะมีวัดประจำหมู่บ้าน มีพระเณรอยู่ประจำวัด โดยส่วนหนึ่งบวชเรียนตามหลักความเชื่อในการสืบทอดพระศาสนาแต่บางส่วนเข้ามาบวชเพื่อหลบหนีการถูกเกณฑ์เป็นทหารของกองกำลังต่างๆ ถึงกระนั้นก็ตามเมื่อมีการสู้รบบางครั้งพระเณรก็ไม่เว้นที่จะถูกเกณฑ์เช่นเดียวกัน ส่วนชีวิตในวัดไม่ได้แยกแบบสันโดษเพราะเมื่อชาวบ้านปลูกข้าวหรือเก็บเกี่ยวพระสงฆ์และสามเณรก็ออกไปช่วยชาวบ้านด้วย 

                การเข้ามาของคริสต์ศาสนาสู่ชาวปลังโดยผู้เผยแผ่คริสต์ศาสนาชนเผ่าลาหู่ในพม่า ทำให้ชาว
ปลังบางส่วนหันมานับถือคริสต์ศาสนา และรวมกันเป็นชุมชนชาวคริสต์ เช่นที่บ้านก่อในเขตพม่าสืบทอดมานับร้อยปีแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การนับถือคริสต์ศาสนาของชาวปลังยังคงมีอิทธิพลของความเชื่อแบบดั้งเดิมแฝงอยู่ เนื่องจากภายหลังการรับเชื่อเป็นคริสเตียน มีคริสเตียนชาวปลางบางกลุ่มยังคงรักษาความเชื่อดั้งเดิมและวิธีปฏิบัติไว้จนบางครั้งแยกไม่ออกว่าเป็นคริสเตียนหรือเป็นผู้ที่มีความเชื่อแบบดั้งเดิม
วัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าปลัง
                ชนเผ่าปลางมีภาพูดที่ถ่ายทอดกันมาแต่ไม่มีภาษาเขียนของตนเอง และการสื่อภาษามักจะใช้ภาษาลาหู่เป็นภาษากลาง ดังนั้นคนลาหู่จึงสามารถพูดคุยสื่อสารกับชาวปลังได้ และเนื่องจากความเป็นชนเผ่าเล็กน้อยทำให้ชาว
ปลังมีปัญหาในการรักษาวัฒนธรรมและภาษาของตน เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มชนเผ่าใดมักจะรับเอาวัฒนธรรมและภาษาของชนเผ่านั้นมาใช้ เช่น ไทใหญ่ และลาหู่ เป็นต้น การเข้าไปอาศัยอยู่ในสังคมวัฒนธรรมอื่นชาวปลังมักจะซึมซับรับเอาวัฒนธรรมอื่นกระทั่งแทบไม่เหลือความเป็นชนเผ่าปลางที่ชัดเจน แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีมิชชันนารีตะวันตกและนักวิชาการภาษาศาสตร์ชาวลาหู่ร่วมกับชาวปลังจัดทำภาษาเขียนโดยใช้อักษรโรมันในการเขียน จึงเป็นตัวหนังสือเหมือนกับบางชนเผ่าที่ไม่เคยมีภาษาเขียนของตนเองมาก่อน ทำให้ชาวปลังมีโอกาสถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านการสื่อแบบลายลักษณ์อักษรได้อย่างเป็นระบบขึ้น

                วัฒนธรรมด้านการแต่งกายของชาวปลัง ผู้หญิงใช้ผ้าสีดำที่ทอจากฝ้ายและย้อมสีจากเปลือกไม้บางชนิด เครื่องนุ่งห่มที่ใช้มีความใกล้เคียงกับชนเผ่าลาหู่ และยังมีประเพณีรวมสมาชิกของครอบครัวเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและสังคมในวันที่ 31 ธันวาคม ถือเป็นการเตรียมตัวสำหรับปีใหม่ มีการเตรียมบ้านเรือนและเตรียมตัวในการเฉลิมฉลอง โดยเฉพาะการทำข้าวปุ๊ก (ข้าวตำ) เนื้อหมู เป็นอาหารว่างสำหรับทุกครอบครัว มีการทำความสะอาดบ้านเรือน เตรียมผ้าใหม่ใส่ในวันเฉลิมฉลองปีใหม่ซึ่งเป็นการแสดงถึงสิ่งเก่าๆที่เลวร้ายได้ผ่านพ้นไป
ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์
Ø ชื่อที่เรียกตัวเอง  ความหมาย
ชาวปลางเรียกตัวเองว่า คาปาง” (Hka pang) หมายถึง  ข้างบน  เพราะชาวปลางอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงห่างไกลจากตัวเมืองและเป็นที่ๆ สงบท่ามกลางธรรมชาติ 
Ø  ชื่อที่คนอื่นเรียก  หรือชื่อทั่วไป  ความหมาย
จีนเรียกชาวปลางว่า ปางชุง” (Pang chung) ส่วนชาวไทใหญ่เรียกชาวปลังว่า  “คนดอยเพราะอยู่บนพื้นที่สูง  และเมื่อเข้ามาในประเทศไทยคนไทยเรียกชาวปลางว่า ชาวพม่าหรือบางครั้งเรียก ชาวเขา”  เพราะเป็นกลุ่มชนที่อยู่บนพื้นที่สูงของประเทศ  และเมื่อขอเอกสารทางราชการ (บัตร) ก็ไม่สามารถพิสูจน์หลักฐานได้ว่าเป็นสัญชาติอะไร  ดังนั้นจึงได้ใช้คำว่า บุคคลไร้สัญชาติและแม้แต่ชนเผ่าต่างๆ ที่ได้สัญชาติแล้วก็มักจะเรียกว่า ชาวไทยภูเขาซึ่งบ่งบอกถึงสภาพความเป็นอยู่    
ประวัติความเป็นมา
Ø  ตำนานและเรื่องเล่าเกี่ยวกับการกำเนิดกลุ่มชาติพันธุ์ตนเอง
เมื่อนานมาแล้วชาวว้าที่อยู่ในประเทศจีนได้อพยพมาเข้ามาประเทศพม่า  และเมื่อมาถึงก็ประสบกับภัยสงครามมีการข่มเหง  บีบบังคับและเกณฑ์ประชาชน  ในช่วงเวลานี้ชาวไทใหญ่หรือไทลื้อเป็นกองกำลังที่มีอำนาจและกำลังรบกับพม่า  เมื่อไทใหญ่จับชาวว้าได้ก็จะถามว่า เป็นชาวอะไร และชาวว้าเหล่านี้ก็ตอบว่าเป็นชาวปลาง  ความหมายของคำว่าปลางคือข้างบน  ที่ตอบเช่นนี้เพราะถ้าตอบว่าเป็นว่าชาวไทยใหญ่ก็จะฆ่าทันที   
Ø ประวัติการอพยพและการตั้งถิ่นฐาน
เริ่มแรกเริ่มต้นที่ประเทศจีน  และอพยพลงมาเรื่อยๆ มาที่ประเทศพม่า  เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองทำให้เกิดการข่มเหงและในที่สุดก็เข้ามาในประเทศไทย 
Ø  กระจายตัวของชุมชนและประชากรในประเทศไทย
ปัจจุบันชาวปลังอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่จันและบางส่วนก็ลงมาทำงานในจังหวัดนครปฐม  เพราะเนื่องจากชาว
ปลังที่มาทำงานในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะได้รับการแนะนำจากญาติหรือเพื่อน  และเมื่อได้ชักชวนกันมาทำงานก็มักจะอยู่ร่วมกันหลายๆ คน 
ระบบครอบครัวและเครือญาติ
ในบ้านหลังหนึ่งๆ จะมีสมาชิกครัวสามถึงสี่ครอบครัวอยู่ร่วมกัน  และภายในหมู่บ้านก็จะประกอบไปด้วยญาติพี่น้อง  ส่วนใหญ่ญาติพี่น้องจะอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน  เมื่อมีการย้ายก็ย้ายกันหลายครอบครัวในครั้งเดียว
โครงสร้างการปกครองและสังคม
ชาวปลางชอบความสงบสุขและใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ  ภายในหมู่บ้านก็จะมีหัวหน้าหมู่บ้านที่คอยดูแลลูกบ้าน  และที่สำคัญคือหัวหน้าหมู่บ้านต้องรู้อย่างน้อยสามภาษาคือ  ภาษาไทยใหญ่  ภาษาพม่า  ภาษาว้า  เพราะเมื่อมีทหารของกลุ่มใดเข้ามาในหมู่บ้านหัวหน้าหมู่บ้านก็ต้องพูดกับทหารภาษานั้นๆ หากพูดไม่ได้ก็จะทำการลงโทษ  ขณะที่อยู่ในประเทศพม่าก็อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า  ไทใหญ่และว้า 
ความเชื่อ  ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ
เริ่มแรกชาวปลางเชื่อในผีเจ้าป่าเจ้าเขา  ผีบ้านผีเรือน  เมื่อเกิดเจ็บป่วยขึ้นผู้ที่จะช่วยได้คือหมอผี  และบางครั้งหมอผีก็เรียกร้องข้าวสาร  เงินทองทำให้เป็นภาระของชาวบ้าน  เพราะทั้งๆ ที่ชาวบ้านไม่มีจะกินจะดื่มก็ต้องหาสิ่งต่างๆ ที่หมอผีบอก  มีการเซ่นไหว้ขอขมาเจ้าป่าเจ้าเขาที่ได้เปลี่ยนไปทำให้หลายครั้งก็เกิดความสับสนในความเชื่อดั้งเดิมของตนเองและวิธีกรรมทางศาสนาของพุทธ  และเมื่อประมาณร้อยปีที่ผ่านมาชาวปลางคนแรกก็ได้นับถือคริสตศาสนาและหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีชาวปลางที่นับถือศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น     
การทำมาหากิน  และวิถีการผลิตพื้นบ้าน
อาชีพของชาวปลังคือทำไร่ปลูกฝ้าย  ข้าว  ข้าวโพด  พริก  งา  หลังจากเก็บเกี่ยวผลิตแล้วบางส่วนเก็บไว้  และบางส่วนก็นำไปขายที่ประเทศจีน  ชาวบ้านจะมีโอกาสไปประเทศจีนปีละสองครั้งเพื่อนำผลผลิตไปขาย  และหลังจากนั้นก็ซื้อเกลือ  ไม้ขีดไฟและขนมกลับมาฝากลูกหลานที่บ้าน     

มรดกทางวัฒนธรรม
Ø  อาหาร
อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวปลังคือข้าวต้มและพริกตำ  เนื่องจากชาวปลังอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงที่ห่างไกลจากตัวเมืองและถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเป็นเหตุให้เผชิญกับความทุกข์ยากลำบากต่างๆ เช่น  การขาดแคลนอาหาร  เพราะบางปีพืชไร่ที่ปลูกไม่พอต่อสมาชิกในครอบครัวก็ต้องไปหาพืชผักในป่ามาต้มรวมกับข้าวสารเพื่อประทันชีวิตในแต่ละวัน  จะถือได้ว่าข้าวต้มเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวปลางแม้ในขณะที่อยู่ในประเทศไทยแล้วก็ตาม  เพราะจะสื่อถึงความเป็นชาวปลังอย่างแท้จริง  บางครั้งในการหุงอาหารนั้นก็ต้องหุงรวมกับเผือกป่า  ข้าวโพด  เปลือกมะขามป้อมและผักต่างๆ เพื่อจะเพียงพอต่อสมาชิกในครอบครัว

Ø  งานช่างฝีมือ
ตะกร้าไม้ไผ่  เข่งไม้ไผ่  มีด  ขวาน  เคียว  เหล่านี้เป็นอุปกรณ์การเกษตรที่จำเป็นและสำคัญที่ทุกครัวเรือนมี  ส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเหล็กนั้นก็มีช่างตีมีด  ขวานและเคียวประจำหมู่บ้าน        
Ø  เครื่องแต่งกาย
ชาวปลางทุกครัวเรือนปลูกฝ้ายเพื่อเตรียมดินที่จะปลูกข้าวในปีต่อไป  และนำฝ้ายที่ได้นั้นมาทำเป็นเสื้อผ้า  ผ้าห่ม  หรือกระสอบที่จะบรรจุข้าวเปลือก  ส่วนสีของเนื้อผ้านั้นจะใช้เปลือกไม้ตามธรรมชาติมาย้อมเป็นสีดำ  และเสริมลายต่างๆ


Ø  ศิลปะการแสดง  บทเพลงและดนตรี
การเต้นรำ  การขับร้องชายและหญิง  ซึง  กลอง  โมง  ฉาบ  การเต้นรำของชาวปลางจะเต้นช่วงปีใหม่  วันปีใหม่เป็นวันที่ชาวบ้านจะเต็มไปด้วยความสุขสนุกสนานเพราะได้พบได้เจอเพื่อนบ้านที่มาร่วมงาน  ส่วนบทเพลงนั้นชาวปลังมักจะร้องขณะที่เดินทางไปทำไร่  หรือขณะที่กลับมาจากการทำงาน  ร้องบรรยายถึงสภาพความเป็นอยู่ของตน  ธรรมชาติ  เสียงนกร้องประสาน 
สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงและประเด็นปัญหาหลักๆ ที่กลุ่มชาติพันธุ์ตนเองประสบอยู่
Ø  สิทธิในการอยู่ในประเทศ/บัตร  เด็กๆ ที่เกิดในประเทศไม่ได้รับสูติบัตร (ใบเกิด)  
Ø  การถูกเอารัดเอาเปรียบ  การถูกข่มเหง (ทั้งในประเทศไทยและที่อื่นๆ) เป็นปัญหาของชาวปลังเป็นอย่างมาก  เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็มักจะถูกข่มเหงและเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ      
Ø  การศึกษา  เนื่องจากความเป็นอยู่ที่ห่างไกลความเจริญ  อีกทั้งไม่มีหน่วยงานใดที่สนับสนุนในด้านนี้จึงทำให้ขาดการพัฒนาในด้านต่างๆ อีกทั้งบรรดาผู้ปกครองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควรในการสนับสนุนบุตรหลานของตนไปโรงเรียน





ชื่อ  ที่อยู่และที่ติดต่อของผู้ให้ข้อมูล
คริสตจักรปลังนครปฐม  145 หมู่ 3 ต.นราภิรมย์  อ.บางเลน  จ.นครปฐม 73130



                                              


                                                                                                             


                                                                                                                      
                                                 (  ผป.ประสิทธิ์  ธงทัศวรรธนะ )
                                                 ประธานธรรมกิจคริสตจักรภาคที่ 11
                                                แห่งมูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทย